วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2562

บันทีกการเรียนครั้งที่2



Wednesday 14 August 2019
Time 08:30 - 12:30 o’clock

       ในวันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษา เข้าร่วมกับโปรแกรมหนึ่งที่มีไว้สำหรับเช็คชื่อและส่งงาน  (Padlet) จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้แบ่งกลุ่มแล้วเข้าไปเชื่อมต่อกับ Padlet โดยการเขียนชื่อสมาชิกในกลุ่ม จากนั้นอาจารย์ได้มีการตั้งคำถามว่า ในรายวิชา วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กนั้น นักศึกษาคิดว่าเราจะต้องเรียนอะไรบ้าง  อาจารย์ให้เวลาในการคิด โดยที่ยังไม่ต้อง เปิดดูแหล่งให้ข้อมูล เมื่อคิดได้แล้วก็ให้โพสต์ลงกลุ่ม คำตอบของเพื่อนๆก็ไม่แตกต่างกันมากนัก เพราะทุกคนต่างคิดว่า วิทยาศาสตร์ ควรเรียนเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืช เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักการสังเกต

       ต่อมา อาจารย์ได้ฝึกให้นักศึกษา เบรน สมอง ด้วยการทำท่าไข่พะโล้ ประกอบเพลงช้าง ทำเป็นจังหวะโดยกำหนดให้รอบแรก มือซ้ายกำ มือขวาแบ รอบสองมือซ้ายแบ มือขวากำ จากนั้นอาจารย์ให้เปลี่ยนท่า ในระดับที่ยากขึ้นมาอีก คือท่าที่มือขวากำแล้วมือซ้ายวางบน  ต่อไปมือขวาแบแล้วมือซ้ายกำวางไว้ข้างบนมือขวา  และสุดท้ายคือมือซ้ายกำแล้วมือขวาวางบน จากนั้นอาจารย์บอกว่าให้ทำ1ชุด เราจะงงมากว่า 1ชุดคืออะไร แต่ถ้าเราลองทำท่าที่อาจารย์บอก ก็จะทราบเองว่าหนึ่งชุดมี่กี่ท่า ซึ่งวิธีการแบบนี้เราเรียกว่า อนุกรม วิธีการนี้เราสามารถนำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ให้เด็กปฐมวัยได้ ด้วยวิธีการสอนแบบนี้จะสังเกตได้ว่า อาจารย์จะสอนจากท่าง่าย ไปท่ายาก นั่นเป็นเพราะว่า เวลาที่เราไปจัดประสบการณ์นั้นถ้าอยู่ๆบอกให้เด็กปรบมือ หรือทำท่าอะไรขึ้นมาเลย มันจะเป็นการทำร้ายเด็กเพราะมันไม่สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็กนั่นก็คือ การเล่น เพราะเช่นนี้เองเมื่อเด็กได้เล่น ก็จะทำให้เกิดการซึมซับ รับรู้  ปรับโครงสร้างเป็นความรู้ใหม่

        

     







คำศัพท์
1. absorb   ซึมซับ
2.Learning  การเรียนรู้
3.Behavior change  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
4.sensory motor    ประสาทสัมผัส
5.ego sentric      ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง

ประเมินอาจารย์
  อาจารย์พยายามจะทวนความจำเกี่ยวกับคำที่ คนเป็นครูปฐมวัยควรจำเเละควรรู้เพราะการเป็นครูปฐมวัยมีอะไรมากกว่าการเลี้ยงเด็ก อาจารย์เป็นห่วงว่านักศึกษาจะจำไม่ได้จึงน้ำอยู่เสมอจนกว่านักศึกษาจะจำได้และตอบที่อาจารย์ถามได้
 ประเมินเพื่อน
พื่อนพยายามช่วยกันตอบคำถามและให้ความร่วมมือกับกิจกรรมที่อาจารย์นำมาสอนแม้จะทำผิดทำถูกก็สนุกสนานและกลับไปให้ทบทวนตัวเอง
 ประเมินตัวเอง
ในการเรียนวันนี้ทำให้ได้แง่คิดว่าควรจริงจังและตั้งใจในการที่จะเป็นครูให้มากกว่านี้ และต้องเก็บเกี่ยวเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆที่อาจารย์ให้ให้ได้มากที่สุด




วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่1




Wednesday 7 August 2019

Time 08:30 - 12:30 o’clock

The knowledge gained >> ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้เป็นวันเเรกที่ได้เข้าชั้นเรียน อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย สิ่งที่เราต้องศึกษาเรียนรู้มีอะไรบ้าง อาจารย์ให้นักศึกษาไปดู มคอ : กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education, TQF:HEd) ว่าเราต้องเรียนอะไรบ้าง การเรียนของเราจะต้องสอดคล้องกับ มคอ เเละอาจารย์ให้สร้างบล็อคหา บทความ วิจัย เเละตัวอย่างการสอน









Words >> คำศัพท์
·                     Article บทความ
·                     Research วิจัย
·                     Teaching Examples ตัวอย่างการสอน
·                     Science Provision for Early Childhood การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
·                     Thai Qualifications Framework for Higher Educationกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 
Assesment >> การประเมิน
Our self ตัวเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
Friend เพื่อน : เพื่อนๆให้การสนใจในการเรียน
Teacher อาจารย์ : อธิบายรายวิชาให้ฟังอย่างละเอียด

สรุปตัวอย่างการสอน รู้จักอากาศด้วยประสาทสัมผัส






วัตถุประสงค์ ใช้ประสาทสัมผัสในการสังเกตเพื่อบอกว่าอากาศอยู่รอบตัวเรา
อุปกรณ์ ลูกโป่ง ลูกโป่งที่ยังไม่ได้เป่าเทปใส เข็มหมุด ล่มคันเล็ก ที่สูบ ถุงพลาสติกขนาดใหญ่

กิจกรรมที่เป่าลูกโป่งแล้วใช้เข็มเจาะ 
เด็กๆจะได้เรียนรู้ว่าอากาศมีตัวตน ซึ่งแม้ว่าเราจะไม่สามารถมองเห็นอากาศได้และได้ฝึกทักษะการสังเกต การลงความเห็น การบรรยายลักษณะต่างๆ

กิจกรรมที่2 กางร่มแล้ววิ่ง

เราสามารถสัมผัสอากาศจากแรงดันอากาศที่กระทำต่อวัตถุต่างๆในขณะวิ่งถือร่มที่หุบและกางแล้วเปรียบเทียบความต่างซึงร่มที่กางต้องใช้แรงมากกว่ารู้สึกหนักกว่าหรือเหมือนมีแรงดึง ดัน ผลักซึ่งแรงนั้นเกิดจากการกระทำของอากาศ





สรุปบทความ


สอนลูกเรื่องแรงแม่เหล็ก (Teaching Children about Magnetic Force)

การสอนเรื่องแรงแม่เหล็กมีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร?
การสอนเรื่องแรงแม่เหล็กมีประโยชน์ต่อเด็กดังนี้คือ เด็กจะมีความรู้เกี่ยวกับแรงแม่เหล็กที่เป็นเรื่องธรรมชาติ ความรู้ที่เด็กได้รับผ่านกิจกรรมทดลองง่ายๆหรือเกิดจากการเล่น ที่ส่งเสริมให้เด็กเกิดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ คือทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความหมาย และทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล ทักษะดังกล่าวเป็นทักษะสำคัญที่เด็กจะใช้แสวงหาความรู้ตามกระบวนการวิทยาศาสตร์ คือรู้จักคิดและตั้งคำถาม เพื่อนำไปสู่การหาทางทดลองเพื่อเป็นคำตอบ เป็นการส่งเสริมการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็ก ซึ่งตามทฤษฎีการพัฒนาการทางสติปัญญาของนักการ ศึกษาที่มีชื่อเสียงคือ เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาการพัฒนาการทางสติปัญญาและการเรียนรู้ของเด็ก กล่าวว่า เด็กจะมีการพัฒนาการตามอายุ และที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย มี 2 ขั้นแรก คือ
·         ช่วงอายุ 0-2 ปี เด็กจะพัฒนาการการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ หู ตา ปาก จมูก ลิ้น และ ผิวสัมผัส (การจับต้อง)
·         อีกช่วงอายุ คือ 2-7 ปี เด็กจะใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ทางพฤติกรรมที่สมองสั่งการให้ร่างกายทำปฏิกิริยาตอบโต้ต่อสิ่งที่พบเห็นด้วยวิธีการต่างๆ ได้แก่ การลองผิดลองถูก ใช้ภาษา (เด็กเริ่มใช้ภาษาได้ดีขึ้น มีคำศัพท์มากขึ้น เรียกชื่อสิ่งต่างๆได้มากขึ้น) มีการพัฒนาความคิด ความจำมากขึ้น รู้จักแยกแยะความเหมือนและความแตกต่าง)
จึงเป็นข้อสังเกตได้ว่าเด็กสามารถเรียนรู้และมีประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว จนสามารถเกิดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่กล่าวมา และผลจากการที่เด็กได้สัมผัสและกระทำ จะทำให้ความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ของเด็กพัฒนา ดังนั้น การเรียนเรื่องแรงแม่เหล็ก เด็กจะได้ใช้ประสาทสัมผัสกระทำผ่านกิจกรรมต่างๆ จะเกิดประโยชน์ให้เด็กมีพัฒนาการตามวัย
ครูสอนเรื่องแรงแม่เหล็กให้ลูกที่โรงเรียนอย่างไร?
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องแม่เหล็ก มีเรื่องที่น่าสนใจจากคำถามที่ชวนให้เด็กได้สืบค้นหาคำตอบด้วยกระ บวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างความรู้ที่เด็กควรรู้ และเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัย ครูอาจจะเป็นผู้ถามหรือสร้างสถานการณ์ให้เด็กถาม เพื่อนำไปสู่การจัดกิจกรรม เช่น
·         แม่เหล็กดูดอะไรบ้าง : แม่เหล็กดึงดูดของเป็นบางอย่าง
·         แม่เหล็กชนิดไหนมีแรงดึงดูดมากที่สุด และชนิดไหนอ่อนที่สุด : แม่เหล็กแต่ละชิ้นมีแรงดึงดูดต่างกัน
·         เราทำแม่เหล็กได้อย่างไร : แม่เหล็กชิ้นหนึ่งอาจใช้สร้างแม่เหล็กอีกชิ้นหนึ่งได้
·         ส่วนใดของแม่เหล็กที่มีแรงดึงดูดมากที่สุด : แม่เหล็กมีแรงดึงดูดมากที่สุดที่ขั้วทั้งสอง
·         ปลายทั้งสองข้างของแม่เหล็กทำอย่างไร : ปลายแต่ละข้างของแม่เหล็กจะมีการกระทำต่างกัน ฯลฯ
ครูปฐมวัยจะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องแรงแม่เหล็กผ่านกิจกรรมหลักทั้งหก ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 โดยกำหนดเป็นหน่วยการเรียนรู้เรื่องแรงแม่เหล็ก ที่พิจารณารายละเอียดของเรื่องให้เหมาะสมกับเด็กตามวัย ดังตัว อย่างต่อไปนี้
·         กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ครูให้เด็กทดลองและนำเสนอผลการทดลองแรงดูดและแรงผลักของแม่เหล็กผ่านการเล่นและงานประดิษฐ์ เพื่อให้เด็กได้ใช้ความคิดเชิงสร้างสรรค์ และนำของประดิษฐ์ไปเล่น เช่น ครูทำเรือจากก้อนโฟมจำ นวน 6 ลำ สามลำแรกไม่ติดลวดหนีบกระดาษ ส่วนอีกสามลำหลังนำลวดหนีบกระดาษมัดติดกับเรือ แต่ละลำมัดด้วยหนังยาง (อาจใช้สีระบายเรือให้แตกต่างกัน) นำไปใส่ในถาดก้นตื้น เติมน้ำในถาด นำถาดวางบนแท่งไม้ 2 แท่งที่จัดวางระยะห่าง พอเหมาะกับขอบถาด สองด้าน ให้เด็กใช้แท่งแม่เหล็กชูใต้ถาด แล้วสังเกตการเคลื่อนที่ของเรือ กิจกรรมนี้สามารถตอบคำ ถามที่น่าสนใจว่า แม่เหล็กดูดอะไรได้บ้าง
·         กิจกรรมเสรี ครูจัดแม่เหล็ก เข็มทิศ ไว้เป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์หรือเครื่องมือวิทยาศาสตร์ให้เด็กได้ทดลองใช้ ที่มุมวิทยาศาสตร์
·         กิจกรรมสร้างสรรค์ ให้เด็กใช้งานประดิษฐ์และสร้างสรรค์ตามหน่วยการสอนนั้น ไปประกอบกับแม่เหล็กเป็นของเล่น เช่น หน่วยปลา ประดิษฐ์ปลาประกอบด้วยแม่เหล็ก





สรุปวิจัยวิทยาศาสตร์