วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2562

สรุปบทความ


สอนลูกเรื่องแรงแม่เหล็ก (Teaching Children about Magnetic Force)

การสอนเรื่องแรงแม่เหล็กมีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร?
การสอนเรื่องแรงแม่เหล็กมีประโยชน์ต่อเด็กดังนี้คือ เด็กจะมีความรู้เกี่ยวกับแรงแม่เหล็กที่เป็นเรื่องธรรมชาติ ความรู้ที่เด็กได้รับผ่านกิจกรรมทดลองง่ายๆหรือเกิดจากการเล่น ที่ส่งเสริมให้เด็กเกิดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ คือทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความหมาย และทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล ทักษะดังกล่าวเป็นทักษะสำคัญที่เด็กจะใช้แสวงหาความรู้ตามกระบวนการวิทยาศาสตร์ คือรู้จักคิดและตั้งคำถาม เพื่อนำไปสู่การหาทางทดลองเพื่อเป็นคำตอบ เป็นการส่งเสริมการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็ก ซึ่งตามทฤษฎีการพัฒนาการทางสติปัญญาของนักการ ศึกษาที่มีชื่อเสียงคือ เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาการพัฒนาการทางสติปัญญาและการเรียนรู้ของเด็ก กล่าวว่า เด็กจะมีการพัฒนาการตามอายุ และที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย มี 2 ขั้นแรก คือ
·         ช่วงอายุ 0-2 ปี เด็กจะพัฒนาการการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ หู ตา ปาก จมูก ลิ้น และ ผิวสัมผัส (การจับต้อง)
·         อีกช่วงอายุ คือ 2-7 ปี เด็กจะใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ทางพฤติกรรมที่สมองสั่งการให้ร่างกายทำปฏิกิริยาตอบโต้ต่อสิ่งที่พบเห็นด้วยวิธีการต่างๆ ได้แก่ การลองผิดลองถูก ใช้ภาษา (เด็กเริ่มใช้ภาษาได้ดีขึ้น มีคำศัพท์มากขึ้น เรียกชื่อสิ่งต่างๆได้มากขึ้น) มีการพัฒนาความคิด ความจำมากขึ้น รู้จักแยกแยะความเหมือนและความแตกต่าง)
จึงเป็นข้อสังเกตได้ว่าเด็กสามารถเรียนรู้และมีประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว จนสามารถเกิดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่กล่าวมา และผลจากการที่เด็กได้สัมผัสและกระทำ จะทำให้ความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ของเด็กพัฒนา ดังนั้น การเรียนเรื่องแรงแม่เหล็ก เด็กจะได้ใช้ประสาทสัมผัสกระทำผ่านกิจกรรมต่างๆ จะเกิดประโยชน์ให้เด็กมีพัฒนาการตามวัย
ครูสอนเรื่องแรงแม่เหล็กให้ลูกที่โรงเรียนอย่างไร?
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องแม่เหล็ก มีเรื่องที่น่าสนใจจากคำถามที่ชวนให้เด็กได้สืบค้นหาคำตอบด้วยกระ บวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างความรู้ที่เด็กควรรู้ และเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัย ครูอาจจะเป็นผู้ถามหรือสร้างสถานการณ์ให้เด็กถาม เพื่อนำไปสู่การจัดกิจกรรม เช่น
·         แม่เหล็กดูดอะไรบ้าง : แม่เหล็กดึงดูดของเป็นบางอย่าง
·         แม่เหล็กชนิดไหนมีแรงดึงดูดมากที่สุด และชนิดไหนอ่อนที่สุด : แม่เหล็กแต่ละชิ้นมีแรงดึงดูดต่างกัน
·         เราทำแม่เหล็กได้อย่างไร : แม่เหล็กชิ้นหนึ่งอาจใช้สร้างแม่เหล็กอีกชิ้นหนึ่งได้
·         ส่วนใดของแม่เหล็กที่มีแรงดึงดูดมากที่สุด : แม่เหล็กมีแรงดึงดูดมากที่สุดที่ขั้วทั้งสอง
·         ปลายทั้งสองข้างของแม่เหล็กทำอย่างไร : ปลายแต่ละข้างของแม่เหล็กจะมีการกระทำต่างกัน ฯลฯ
ครูปฐมวัยจะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องแรงแม่เหล็กผ่านกิจกรรมหลักทั้งหก ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 โดยกำหนดเป็นหน่วยการเรียนรู้เรื่องแรงแม่เหล็ก ที่พิจารณารายละเอียดของเรื่องให้เหมาะสมกับเด็กตามวัย ดังตัว อย่างต่อไปนี้
·         กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ครูให้เด็กทดลองและนำเสนอผลการทดลองแรงดูดและแรงผลักของแม่เหล็กผ่านการเล่นและงานประดิษฐ์ เพื่อให้เด็กได้ใช้ความคิดเชิงสร้างสรรค์ และนำของประดิษฐ์ไปเล่น เช่น ครูทำเรือจากก้อนโฟมจำ นวน 6 ลำ สามลำแรกไม่ติดลวดหนีบกระดาษ ส่วนอีกสามลำหลังนำลวดหนีบกระดาษมัดติดกับเรือ แต่ละลำมัดด้วยหนังยาง (อาจใช้สีระบายเรือให้แตกต่างกัน) นำไปใส่ในถาดก้นตื้น เติมน้ำในถาด นำถาดวางบนแท่งไม้ 2 แท่งที่จัดวางระยะห่าง พอเหมาะกับขอบถาด สองด้าน ให้เด็กใช้แท่งแม่เหล็กชูใต้ถาด แล้วสังเกตการเคลื่อนที่ของเรือ กิจกรรมนี้สามารถตอบคำ ถามที่น่าสนใจว่า แม่เหล็กดูดอะไรได้บ้าง
·         กิจกรรมเสรี ครูจัดแม่เหล็ก เข็มทิศ ไว้เป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์หรือเครื่องมือวิทยาศาสตร์ให้เด็กได้ทดลองใช้ ที่มุมวิทยาศาสตร์
·         กิจกรรมสร้างสรรค์ ให้เด็กใช้งานประดิษฐ์และสร้างสรรค์ตามหน่วยการสอนนั้น ไปประกอบกับแม่เหล็กเป็นของเล่น เช่น หน่วยปลา ประดิษฐ์ปลาประกอบด้วยแม่เหล็ก





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น